
บัวพ้นน้ำ
จึงบาน บัว ไม่เคยมีปรากฏว่าบานในใต้น้ำ ต่อเมื่อบัวนั้นพ้นน้ำได้แล้วจึงสามารถบานได้ ทรงเปรียบคนไว้ ๔ ประเภท ดั่งดอกบัว คือ ประเภทบัวพ้นน้ำ สามารถบรรลุธรรมโดยง่าย ประเภทบัวปริ่มน้ำ พยายามอีกหน่อย ก็สามารถบรรลุได้เช่นกัน ประเภทบัวในน้ำ ต้องเคี่ยวเข็น พยายามอย่างหนักเข้า ก็ยังมีโอกาสบรรลุ ประเภทบัวใต้น้ำใต้ตม ต้องปล่อยไปเป็นอาหารของสัตว์ และอีกอย่าง พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำว่า ธรรมของพระองค์ที่ทรงสอน ผู้ที่จะเรียนได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
ข้อ ๑. ธรรมนี้ เป็นของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
ข้อ ๒. ธรรมนี้ เป็นของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
ข้อ ๓. ธรรมนี้ เป็นของบุคคลผู้สงบสงัดจากหมู่คณะ ไม่ใช่ของบุคคลผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ข้อ ๔. ธรรมนี้ เป็นของบุคคลผู้มีความปรารภความเพียร ไม่ใช่ของบุคคลผู้ไม่ปรารภความเพียร
ข้อ ๕. ธรรมนี้ เป็นของบุคคลผู้มีสติมั่น ไม่ใช่ของบุคคลผู้มีสติเลื่อนลอยหลงลืม
ข้อ ๖. ธรรมนี้ เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่ของบุคคลผู้มีใจไม่เป็นสมาธิ
ข้อ ๗. ธรรมนี้ เป็นของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของบุคคลผู้ทรามปัญญา
ข้อ ๘. ธรรมนี้ เป็นของบุคคลผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า
คุณสมบัติ ๘ ประการนี้ เหมือนอย่างการรับนักเรียนเข้าเรียน ถ้าคุณสมบัติของนักเรียนไม่ครบตามเกณฑ์มาตรฐานที่วางไว้ ก็ไม่สามารถรับเข้าเรียนได้ ถึงรับเข้ามาเรียนก็คงสอบตกซ้ำชั้นอยู่อย่างนั้น เหมือนดั่งบัว ประเภท ปทะปรมะ นั่นแล บางส่วนจากหนังสือ ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชฯ ( เกิดมาแล้ว ก็ขออย่าได้เป็นบัวใต้ตม บ่มเพาะคุณสมบัติทั้ง ๘ ประการให้ครบถ้วนกันเถิดนะขอรับ )

ไม้ไผ่แหลม
ครั้งหนึ่งเซลู ได้ตั้งปัญหาถาม ขงจื้อว่า 'มีไผ่ชนิดหนึ่งกำเนิดขึ้นบนเขาหนานซาน มีธรรมชาติเป็นไม้ตรงไม่ต้องดัด เมื่อตัดมาแล้วก็ใช้การได้ทันดี หอกที่ทำด้วยไม้ไผ่ชนิดนี้คมนัก แม้โล่ซึ่งทำด้วยหนังแรดก็ยิ่งทะลุ ดังนั้น ชาติคนฉลาด เหตุไฉนจะต้องศึกษาและอบรมกันอีกเล่า?' ขงจี้อตอบว่า 'ข้อที่ท่านกล่าวมานั้นก็จริงอยู่ แต่ถ้าเราเอาไม้นั้นมาแต่งด้วยขนนก และผูกด้วยหัวธนู มันจะไม่เป็นอาวุธที่แล่นไปได้ไกลยิ่งกว่าไม้ไผ่แหลมเฉยๆ หรอกเหรอ ความหมายของขงจื้อคือ คนเราอาจจะเกิดมาจากชาติตระกูลดี มีสติปัญญาอันเฉียบแหลมปานใดก็ดี หากไร้ซึ่งจริยธรรมมาประกอบแล้ว คนนั้นก็มิผิดอะไรกับไม้ไผ่ที่เสี้ยมปลายแหลมไว้เฉยๆ ไม่อาจแล่นลิ่วไปได้ไกลกว่าที่เขากำเนิดอยู่.

แก้ไขโชคชะตา เริ่มด้วยการกตัญญูต่อพ่อแม่
ตอนที่ฉันยังเด็กมีจิตใจอ่อนแอ เวลานั้นฉันชอบแวะไปบ้านหลังหนึ่ง ไม่รู้ทำไม ชอบหยุดอยู่ตรงนั้น ทำไมหนอ บ้านนี้อยู่ในที่ๆมีบรรยากาศดี เพียงหยุดอยู่หน้าบ้าน ก็รู้สึกน่าสบายมาก เหมือนอยู่ในห้องอบไอน้ำ บรรยากาศที่ห้อมล้อมให้ความสะดวกสบาย ถีงแม้จะไม่สว่างมาก แต่ก็รู้สึกไม่มืดมัว ฉันคิดไปอย่างแปลกๆว่า ดูคนในบ้านแล้ว ก็ไม่แปลกประหลาดแม้เล็กน้อย ผู้เฒ่าที่เกษียณแล้ว 2 คน (สะอาด ดูเป็นผู้ดี) ขาดแคลนเงินเดือนอย่างมาก ลูกชายหญิง 2 คนเล่าเรียนหนังสือไม่มาก ทุกเช้าเรียนเองที่บ้าน แต่ยังหางานทำไม่ได้ ทำไมที่ซึ่งเป็นมงคลอย่างนี้จึงตกต่ำได้เพราะเหตุใด ผ่านไป 3 ปี ลูกชายหญิงทั้งสองก็มีครอบครัว แต่งงานกับคนธรรมดาสามัญมากๆ เพียงแต่คลอดหลานออกมา 2 คน ฉันดูๆแล้ว ท่าทางฉลาดเฉียบแหลม คนหนึ่งเหมือนแสงอาทิตย์ อีกคนหนึ่งดังแสงจันทร์ เปล่งประกายสง่างาม ที่แท้ความเป็นมงคลที่มีมาก่อน 3 ปี ก็คือการต้อนรับ หลานสองคนนี้ ฉันถึงกับอุทานว่า ที่แท้คนเราจะได้รับผลบุญตอบสนอง จะมีลางบอกปรากฏล่วงหน้ามาก่อน 3 ปี ลูกชายลูกสาวที่ดูธรรมดาๆ ทำไมถึงมีความกตัญญูต่อพ่อแม่มากนัก แม่ฉันบอกว่าคนที่มีความกตัญญู จะไม่ตกต่ำนาน เดิมทีไม่ได้เรียนมหาลัย แต่เมื่อแต่งงามแล้วไม่กี่ปีก็กลายเป็นข้าราชการใหญ่ของท้องที่ จากนั้นคนในบ้านนี้ก็มั่งคั่งขึ้นอย่างมาก แม่ฉันบอกว่า คนที่เมื่อตอนเด็กไม่ขัดแย้งโต้เถียงพ่อแม่ เขาจะต้องได้เป็นขุนนางใหญ่ เพราะว่าตอนเด็กกตัญญูต่อพ่อแม่ทุกๆวันก็สะสมบุญกุศลมากขึ้นจนมากกว่าคน อื่นๆ แล้วอย่างเขาไม่ได้เป็นขุนนางแล้วใครจะได้เป็นเล่า ดังนั้น เธอพบคนอย่างนี้ ต้องปฏิบัติต่อเขาให้ดี อย่าได้ดูถูกเพราะเหตุว่าไม่ได้เรียนสูงๆ หรือยังไม่มีงานทำ เพราะเขาจะมีสวรรค์คอยผลักดันอยู่เบื้องหลัง บ้านเรามีใครเป็นขุนนางบ้าง---ไม่มีเลย คนที่คอยโต้เถียงพ่อแม่เป็นประจำ ไม่มีทางได้เป็นขุนนางแน่นอน---แล้วยังจะมีผลให้การงานไม่ราบรื่น ชีวิตล้มเหลวซ้ำๆซากๆ ที่สำคัญคือได้รับความทุกข์ยากลำบาก เหตุผลง่ายๆ การโต้เถียงพ่อแม่ ก็คือทำให้พ่อแม่อยู่ฝ่ายตรงข้าม พ่อแม่ให้กำเนิดเรา ดูแลเรา หากเราไม่มีพ่อแม่ดูแล เราไม่มีทางเติบใหญ่ขึ้นมาได้ ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับเรี่ยวแรงตัวเอง เพื่อที่จะหยุดยั้งเคราะห์กรรม พ่อแม่ได้ว่ากล่าวตักเตือน นี่เป็นการให้บทเรียนด้วยการพูด การไม่กตัญญูต่อพ่อแม่ เบื้องบนเทพยดาย่อมขุ่นเคือง เบื้องล่างผีสางนางไม้ย่อมติเตียน หากอุปมา พ่อแม่เปรียบดังภูเขาแห่งโชคลาภ การกตัญญูต่อพ่อแม่สามารถลดทอนเคราะห์กรรม (ความไม่ราบรื่น) หากเปรียบพ่อแม่เป็นดังทะเลแห่งโชค การกตัญญูต่อพ่อแม่สามารถข้ามความหิวกระหายได้ทั้งปวง (ความอัตคัดขัดสน) ภายหลัง คนในบ้านนี้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ครอบครัวใหม่ย้ายเข้ามาแทน ฉันยังคงผ่านไปดู การตกแต่งประดับบ้านก็คงเหมือนเก่า แต่ว่าบรรยากาศกลับไม่เหมือนก่อน นั่นคือมีความเยือกเย็น มืดมัวมาก ฉันอยู่ประเดี๋ยวเดียวก็ต้องรีบไป ถ้ายังไม่รีบไป ฉันจะเห็นลมที่พัดผ่านตัดกัน (ภายหลังจึงรู้ว่าลมแบบนี้เรียก ลมไร้ปราณี) ครอบครัวก่อนก็ประดับตกแต่งแบบนี้ แต่ฉันกลับไม่เคยมีความรู้สึกแบบนี้ ภายหลังฉันจึงตระหนักรู้ว่า ฮวงจุ้ยนี้จะดีขึ้นอยู่กับบุญกุศลของผู้ที่อยู่อาศัย หากคุณมีบุญ ที่ๆคุณอยู่ย่อมคือที่ๆดี หากที่นั้นเป็นที่ไม่ดี คุณไปอยู่ก็จะเปลี่ยนมันให้กลายเป็นดี ทุกๆคนเข้าใจคำว่า ฮวงจุ้ยดูแลคน แต่กลับไม่มีใครเข้าใจคำว่า คนก็ดูแลฮวงจุ้ยด้วย คนมีบุญเข้ามาอยู่คนเดียว ก็พาให้คนอื่นๆตามมาอยู่เต็มไปหมด เหมือนฝักถั่วที่ขยายออกไป ดังภาษิตว่า “ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจ้าบ้าน” คุณ อยากอยู่ที่ดีๆ ก็ต้องสั่งสมบุญกุศลไว้ก่อน คุณสั่งสมบุญกุศลจนเป็นอุปนิสัยของตน ก็สามารถจะดูแลฮวงจุ้ยได้เอง

คนมีศีล
ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต
สงสัยว่าศีลกับความรู้
อย่างไหนสำคัญกว่ากัน
แต่ในที่สุดก็เข้าใจ...
มีพราหม์หนุ่มคนหนึ่งเดินทางไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักกสิลาแล้วกลับมาเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตที่เมืองพาราณ สี พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดปราณจึงแต่งตั้งให้เขาเป็นปุโรหิต ชาตินั้นพระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นปุโรหิต หลังจากรับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตแล้ว พราหม์หนุ่มก็ตั้งใจทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีโดยถวายคำปรึกษาและถวายคำ แนะนำตามที่พระเจ้าพรหมทัตทรงขอคำปรึกษามา นอกจากมีความรู้แล้ว ปุโรหิตยังคำนึงถึงความเป็นคนดีด้วย เขาคิดว่าความเป็นคนดีนั้นจะต้องประพฤติตัวดีด้วยการรักษาศีล ๕ เป็นประจำ พระเจ้าพรหมทัต ตามปกติทรงเคารพเข้าอยู่แล้วว่าเป็นผู้มีความรู้ ต่อมาเมื่อทราบว่าเขารักษาศีล ๕ ก็ให้ความเคารพยิ่งขึ้นอีก วันหนึ่งหลังจากว่างจากงาน ปุโรหิตได้มานั่งพิจารณาดูตัวเองและเห็นว่าพระเจ้าพรหมทัตทรงให้ความเคารพ ตนเองมาก แต่ก็สงสัยว่า
พระราชาทรงเคารพเราตรงที่เรามีศีลหรือว่าทรงเคารพเราตรงที่เรามีความรู้'ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ปุโรหิตก็คิดหาวิธีทดสอบต่างๆ ในที่สุดก็พบว่า 'เราจะต้องทดลองผิดศีลสักข้อ' เขาใคร่ครวญต่อไปว่า 'ศีล ๕ ข้อนั้นเราจะทดลองผิดข้อไหนดี' ในที่สุดก็ตกลงใจได้ว่าจะลองผิดข้อที่ ๒ คือข้อห้ามลักขโมย ปุโรหิตเริ่มดำเนินการตามแผนโดยเที่ยวแตร่ไปยังบริเวณที่ทำงานของเจ้า หน้าที่ชั่งกหาปณะ วันหนึ่ง พอเจ้าหน้าที่เผลอก็หยิบกหาปณะมา ๑ อันแล้วนำไปเก็บไว้ที่บ้าน เจ้าหน้าที่นับกหาปณะเห็นแต่ไม่กล้าพูดอะไรทั้งนี้เป็นเพราะความเคารพใน ปุโรหิต อีกทั้งน้ำหนักของกหาปณะที่ชั่งอยู่ก็ยังลดไม่มาก จึงยังไม่มีใครเอาผิดเขาได้ ฝ่ายปุโรหิต วันรุ่งขึ้นก็เดินแตร่ไปบริเวณนั้นอีก และพอได้โอกาสก็หยิบกหาปณะออกจากเครื่องชั่งอีก เจ้าหน้าที่ชั่งกหาปณะก็ยังไม่กล้าว่าอะไร
แต่ในใจก็เริ่มคิดตำหนิ 'ปุโรหิตเป็นคนขี้ขโมย' วันต่อมา ปุโรหิตก็เดินแตร่ไปบริเวณนั้นอีก ทันทีที่เห็นปุโรหิต เจ้าหน้าที่นับกหาปณะคนเดิมก็เริ่มแสดงสีหน้าไม่ศรัทธาแต่เป็นเพราะความ เคยชินก็ยังแสดงความเคารพอยู่แม้จะไม่สนิทใจก็ตาม ปุโรหิตสังเกตเห็นกิริยาอาการที่เขาแสดงออกก็รู้ได้ทันที่ว่าเขารู้แล้วว่า ท่านขโมยกหาปณะไป 'วันนี้ความจริงคงจะปรากฏ' ปุโรหิตคิดพลางทำทีเป็นเดินแตร่ไปแตร่มาอยู่บริเวณนั้นและเมื่อได้โอกาสก็ หยิบกหาปณะมาจากเครื่องชั่ง
ทันใดนั้นเองเจ้าหน้าที่นับกหาปณะคนนั้นก็สุดข่มใจได้จึงตวาดใส่ทันทีว่า 'ไอ้คนขี้ขโมย' แล้วเขาก็ร้องให้ช่วยกันจับตัวปุโรหิตใว้ ปุโรหิตถูกคุมตัวเข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าพรหมทัตทรงตกพระทัยมากที่เห็นปุโรหิตถูกคุมตัวมาเช่นนั้น 'ท่านอาจารย์ไปทำความผิดอะไรมา พวกเจ้าจึงคุมตัวมาหาข้า' พระเจ้าพรหมทัตตรัสถามพวกเจ้าหน้าที่ 'ปุโรหิตขโมยกหาปณะจากพระคลังหลวง พระเจ้าข้า' พวกเจ้าหน้าที่กราบทูล พระเจ้าพรหมทัตทรงได้ฟังข้อกล่าวหานั้นแล้วทรงนิ่งอึ้งไปครู่หนึ่ง จากนั้นจึงหันมาตรัสถามปุโรหิตว่า 'ท่านอาจารย์ ท่านไปขโมยกหาปณะมาจริงหรือ' 'ขอเดชะ...' ปุโรหิตกราบทูลด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม 'ข้าพระองค์ขโมยจริง' 'ฮ้า...อาจารย์ ท่านว่าอะไรนะ' พระเจ้าพรหมทัตตรัสถามแบบไม่เชื่อ 'ท่านนะหรือไปขโมยกหาปณะจากคลังหลวง' 'ใช่แล้ว พระเจ้าข้า'
ปุโรหิตยืนยันแล้วกราบทูลต่อว่า 'แต่ข้าพระองค์ทำไปก็เพื่อค้นหาความจริง' 'ความจริงอะไรหรือท่านอาจารย์' 'ความจริงที่ว่าระหว่างความมีความรู้กับความมีศีล อย่างไหนสำคัญกว่ากัน' 'ทำไม ท่านอาจารย์ต้องแสวงหาความจริงนั้นด้วยเล่า' 'ทุกวันนี้ พระองค์รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในพระราชสำนักต่างให้ความเคารพข้าพระองค์มาก แต่ข้าพระองค์ไม่แน่ใจว่าความเคารพที่ให้มานั้นจากการที่ข้าพระองค์มีความ รู้ดีหรือว่าจากการที่ข้าพระองค์มีศีลกันแน่' 'ท่านก็เลยมาทดลองทำอย่างนี้เพื่อให้ได้คำตอบที่แท้จริง' 'ใช่แล้วพระเจ้าข้า' 'แล้วท่านอาจารย์ได้รับคำตอบหรือยัง' 'ได้แล้ว พระเจ้าข้า' ปุโรหิตตอบเสียงดังชัดเจน 'การที่ข้าพระองค์ถูกจับมาเช่นนี้ก็แสดงว่าเขาไม่เคารพข้าพระองค์เพราะ เข้าใจว่าเป็นคนไม่มีศีลทั้งที่ข้าพระองค์ยังมีความรู้อยู่' 'นั่นก็หมายความว่า ศีลสำคัญกว่าการมีความรู้'
พระเจ้าพรหมทัตตรัสสรุป 'ถูกแล้ว พระเจ้าข้า' ปุโรหิต ทูลรับคำ พระเจ้าพรหมทัตหันหน้าไปทางเสนาอำมาตย์ทั้งหลายด้วยความรู้สึกสบายพระทัยที่ ปุโรหิตของพระองค์มิได้เป็นโจรอย่างถูกกล่าวหา 'เจ้าทั้งหลายเห็นแล้วใช่ไหมว่าท่านอาจารย์ของข้าเป็นอย่างไร' พระองค์ทรงตรัสเสียงดัง 'ท่านอาจารย์ทำเพื่อต้องการคำตอบมาแก้ข้อสงสัยของท่าน' 'ขอเดชะ...' อำมาตย์คนหนึ่งกราบทูล 'ที่ปุโรหิตกล่าวมาทั้งหมดนั้นอาจเป็นข้อแก้ตัวก็เป็นได้' 'ไม่หรอก ไม่ใช่ข้อแก้ตัวของข้าพเจ้าหรอก' ปุโรหิตรีบพูดขึ้น จากนั้นจึงได้กล่าวแสดงความรู้สึกว่า 'ข้าพระเจ้าสงสัยมานานแล้วว่า ศีลกับความรู้อย่างไหนสำคัญกว่ากันแต่มาวันนี้ข้าพเจ้าหายสงสัยแล้วและสรุป ได้ว่า ศีลสำคัญกว่าความรู้ ศีลเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดหากไม่มีศีลเสียแล้วคนจะเกิดมาสูงส่งขนาดไหนหรือจะ เกิดมาสวยงามเพียงไรการเกิดมานั้นก็ไร้ผล ความรู้ของคนไม่มีศีลย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ กษัตริย์ที่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม กับแพศย์ (พ่อค้า) ที่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ทั้งสองละโลกนี้ไปแล้วก็ตกนรก กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และพวกเทขยะ ทำความดีแล้วย่อมได้เกิดในสวรรค์เหมือนกัน ในสัมปรายภพนั้น ความรู้ทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้ ชาติกำเนิดและญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้ มีแต่ศีลที่บริสุทธิ์เท่านั้น จึงจะช่วยให้มีความสุขได้' กล่าวจบแล้ว ปุโรหิตก็หันมาทูลลาพระเจ้าพรหมทัตออกบวช พระเจ้า พรหมทัตทรงทราบดีถึงความรู้สึกของปุโรหิตจึงไม่ขัดข้อง เมื่อได้รับพระราชานุญาตแล้ว ปุโรหิตก็เข้าป่าหิมพานต์ในวันนั้นเอง จากนั้นก็อธิฐานจิตถือบวชเป็นฤาษีตลอดชีวิต ชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนที่มีความรู้แต่ไม่มีศีล ความรู้แทนที่จะก่อประโยชน์สุขให้แก่สังคม ก็กลับกลายเป็นสร้างทุกข์ ตรงกันข้ามกับคนที่มีความรู้และมีศีล ความรู้นั้นก็ก่อประโยชน์สุขให้แก่สังคมอย่างใหญ่หลวง