ศาสนพิธี (เข้าชม 1535 ครั้ง)
ความหมายของศาสนพิธี ศาสนพิธี ประโยชน์ของศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาต่อผู้ปฏิบัติ คือ
๑. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจแก่พุทธศานิกชนให้หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว บำเพ็ญจิตใจให้สุขสงบ ๒. พุทธศาสนิกชนได้นำไปปฏิบัติเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต
กุศลพิธี คือ พิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา เฉพาะตัวบุคคล หรือ การสร้างความดีแก่ตนทางพระพุทธศาสนาตามพิธีนั่นเอง พิธีทำนองนี้ มีมากด้วยกัน แบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ พิธีที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติในเบื้องต้นอย่างสามัญพวกหนึ่ง และพิธีกรรมที่สงฆ์พึงปฏิบัติเพื่อความดีงามในพระวินัยทั้งส่วนตัวผู้ ปฏิบัติและหมู่คณะ พวกหนึ่ง พิธีที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติในเบื้องต้นอย่างสามัญ ที่สำคัญ มีอยู่ ๓ เรื่อง คือ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และพิธีรักษาอุโบสถ พิธีทั้ง ๓ เรื่องนี้เป็นพิธีที่พุทธศาสนิกชนทุกคนพึงทราบ และปฏิบัติได้โดยถูกต้องครบกระบวนระเบียบพิธี ตลอดจนสามารถจัดพิธีนั้น ๆ ให้เด็กหรือเยาวชน หรือผู้ที่จะเข้ามาเป็นพุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติได้ ถูกต้องครบถ้วนตามกระบวน ระเบียบพิธีที่กำหนดเป็นประเพณีไว้ด้วย พิธีกรรมที่สงฆ์พึงปฏิบัติเพื่อความดีงามในพระวินัย ทั้งส่วนตัวผู้ปฏิบัติ และหมู่คณะที่สำคัญ ได้แก่ พิธีเข้าพรรษา พิธีถือนิสสัย พิธีสามีจิกรรม พิธีทำวัตรสวดมนต์ พิธีกรรมวันธรรมสวนะพิธีทำอุโบสถสังฆกรรม และพิธีออกพรรษา ซึ่งแต่ละพิธีล้วนมีความสำคัญต่อพระสงฆ์ทั้งนั้น พิธีกรรมที่สงฆ์พึงปฏิบัติดังกล่าวนี้ พุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ก็ควรทราบด้วย เพื่อจะได้ เป็นการสร้างเสริมศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่า พระพุทธเจ้านั้นท่าน ได้วางระเบียบวิธีปฏิบัติไว้สำหรับพระสงฆ์อย่างไร มีความละเอียดลออและมีความหมายต่อ พุทธศาสนิกชนอย่างไร พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตามเพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยากยิ่งอย่างไร และจะเป็นการที่จะช่วยให้ได้มีการประสานการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา เฉพาะ บุคคล ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และฝ่ายคฤหัสถ์ให้กลมกลืนกันเป็นการสร้างความมั่นคงในความดี งาม ของพุทธบริษัทโดยส่วนรวมด้วย
บุญพิธี หมายถึง พิธีทำบุญที่เกี่ยวกับประเพณีในครอบครัว ซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป มี ๒ ประเภท คือ ๑.๔ ปกิณกพิธี หมายถึง พิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่ มารยาทและระเบียบปฏิบัติในพิธีทั้ง ๓ ข้างต้น เช่น วิธีแสดงความเคารพพระ วิธีประเคนของพระ วิธีอาราธนาต่าง ๆ วิธีกรวดน้ำ เป็นต้น ปกิณกพิธี คือ พิธีต่าง ๆ ที่ไม่นับเข้าในพิธีทั้ง ๓ ข้างต้น ส่วนใหญ่จะเป็นมารยาทและ วิธีปฏิบัติในพิธี ๓ ประการ รวมทั้งข้อปฏิบัติบางอย่างที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ พิธีเหล่านี้ ได้แก่ วิธีแสดงความเคารพพระ วิธีประเคนของพระ วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม วิธีกรวดน้ำ วิธีจับด้ายสายสิญจน์ วิธีตั้งโต๊ะหมู่บูชา พิธีของพระสงฆ์ก็มีวิธีบังสุกลในพิธีทำบุญอายุหรือพิธีศพ วิธีบอกศักราช ในการแสดงพระธรรมเทศนา ปกิณกปฏิบัติ ปกิณกปฏิบัติเป็นข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพระพุทธศาสนาเกือบทุก พิธี ข้อปฏิบัติเหล่านี้ ได้แก่ ๑.๔.๑ การจุดธูปเทียนบูชาพระ การจุดธูปเทียนบูชามีหลักในการจุด คือ ต้องจุดเทียนก่อนจุดธูป หากเทียนมี ๒ เล่ม และมีกระถางธูปอยู่ตรงกลาง ให้จุดเล่มที่อยู่ด้านซ้ายมือของผู้จุดก่อนแล้วจึงจุดเล่มขวามือ จากนั้นจึงจุดธูป ดังนี้ ๑.๔.๒ การอาราธนาศีล การอาราธนาศีล หมายถึง การขอให้พระกล่าวให้ศีล ในทางปฏิบัติคือการขอให้พระกล่าวนำ การสมาทานศีลที่ตนต้องการสมาทาน การสมาทานศีล หมายถึง การตั้งใจรักษาข้อปฏิบัติ ๕ หรือ ๘ ประการ สำหรับฆราวาส และศีล ๑๐ สำหรับสามเณรโดยการกล่าวปฏิญาณต่อหน้าพระภิกษุหรืออาจปฏิญาณในใจก็ ได้แต่การปฏิญาณด้วยการกล่าวออกทางวาจานั้นจะมีผลในด้านปฏิบัติมากกว่า เพราะเป็นการประกาศต่อหน้าพระภิกษุและผู้อื่น ส่วนการกล่าวในใจนั้นมิได้ผูกมัด ตนต่อผู้อื่น จึงอาจทำให้ ล่วงละเมิดได้ง่าย ขั้นตอนการสมาทานศีลมีดังนี้ ๑. จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปแล้วกราบด้วยเบญจคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง ๒. หันหน้ามาทางพระภิกษุผู้ให้ศีล กราบ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนาศีลจบแล้ว กราบ ๓ ครั้ง ๓. พระภิกษุจะกล่าวนำ ดังนี้ ๓.๑ กล่าวนำนมัสการพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง (นโม ตสฺส...) (ผู้สมาทานว่าตาม) ๓.๒ กล่าวนำถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (พุทฺธํ สรณํ...) (ผู้สมาทานว่าตาม) เมื่อพระภิกษุกล่าวจบทีละตอน) บางแห่งก่อนกล่าวคำถึงพระรัตนตรัย พระภิกษุจะกล่าวว่า “ยมหํ วทามิ ตํ วเทหิ” แปลว่า เรากล่าวคำใดให้ท่านกล่าวคำนั้น) ผู้สมาทานถึงกล่าวว่า “อาม ภนฺเต” และเมื่อจบคำถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ พระภิกษุจะกล่าวบอกว่า “ติสรณคมนํ นิฎฺฐิตํ” (แปลว่า การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจบแล้ว) พึงขานรับด้วย คำว่า “อาม ภนฺเต” อีก ๑ ครั้ง ๓.๓ พระภิกษุกล่าวนำสมาทานศีล (ศีล ๕ หรือศีล ๘) แต่ละข้อจนจบ (ผู้สมาทานว่าตามเมื่อพระภิกษุกล่าวนำจบทีละข้อ) ๓.๔ พระภิกษุกล่าวสรุปว่า อิมานิ ปญฺจ สิกฺขาปทานิ.....(หากเป็นศีล ๘ ให้เปลี่ยน “ปญฺจ” เป็น “อฏฺฐ”) ผู้สมาทานไม่ต้องกล่าวตามให้พนมมือฟังด้วยอาการสงบ ๓.๕ พระภิกษุจะกล่าวสรุปอานิสงส์ศีลว่า (ผู้สมาทานไม่ต้องว่าตาม) สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย. หากเป็นการสมาทานศีลอุโบสถ เมื่อพระภิกษุกล่าวนำสมาทานศีล ๘ จบ จะกล่าว นำต่อไปว่า “อิมํ อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ, พุทฺธปญฺญตฺตํ อุโปสถํ อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวสํ สมฺมเทว อภิรกฺขิตุ สมาทิยามิ” ผู้สมาทานว่าตาม จากนั้นพระภิกษุจะกล่าวว่า “อิมานิ อฏฺฐ สิกฺขาปทานิ อุโปสถวเสน มนสิกริตฺวา สาธุกํ อปฺปมาเทน รกฺขิตพฺพานิ” ผู้สมาทานพึงกล่าวรับว่า “อาม ภนฺเต” แล้วพระภิกษุจะกล่าวสรุป อานิสงส์ศีลเช่นเดียวกับข้างต้น (สีเลน...) ๑.๔.๓ การอาราธนาธรรม การอาราธนาธรรม หมายถึง การกล่าวขอให้พระภิกษุแสดงธรรมให้ฟัง ปัจจุบัน นิยมใช้ใน ๒ พิธี คือ ๑. พิธีศพ ได้แก่ การสวดพระอภิธรรม การสวดมาติกา การสวดแจง ๒. พิธีฟังเทศน์ การอาราธนาธรรมในงานศพจะเริ่มต่อจากการสมาทานศีลและกราบด้วย เบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งแล้วจึงอาราธนาธรรม เมื่ออาราธนาธรรมเสร็จแล้วพึงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง จากนั้นพึง นั่งฟังพระสงฆ์สวดไปจนจบ (หรือฟังเทศน์ไปจนจบ) หากเป็นการสวดอภิธรรมหน้าไฟ ไม่ต้องอาราธนาศีล เมื่อพระสงฆ์นั่งประจำ อาสนะและขณะฌาปนกิจศพ ถึงกราบ ๓ ครั้งแล้วอาราธนาธรรม (บางแห่งไม่อาราธนาธรรม) ๑.๔.๔ การกรวดน้ำ การกรวดน้ำ หมายถึง การตั้งใจแผ่ส่วนบุญหรือส่วนกุศลที่ได้ทำไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปหรือผู้ใด ผู้หนึ่ง โดยการรินน้ำใส่ภาชนะเพื่อเป็นเครื่องบ่งถึงเจตนาอุทิศนั้น กิริยาหลั่งน้ำใส่ภาชนะนิยมทำในหลายกรณี คือ ๑. ให้วัตถุสิ่งของที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น พระเจ้าพิมพิสารถวาย อุทยานเวฬุวันแด่พระพุทธเจ้า โดยใช้น้ำหลั่งแทนน้ำพระทัย ที่บริสุทธิ์ของพระองค์แด่พระพุทธเจ้า ๒. ให้สิ่งของที่ใหญ่โตซึ่งไม่สามารถหยิบยกให้ได้ เช่น พระเวสสันดรทรงหลั่งน้ำมอบช้างมงคลแก่
พราหมณ์ทั้ง ๘ แทนน้ำพระทัยของพระองค์ ๓. ใช้ประกาศการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว เช่น พระนเรศวรทรงหลั่งน้ำประกาศความตั้งใจในการประกาศอิสรภาพ ๔. ใช้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ล่วงลับไปแล้ว จะเห็นได้ว่า การหลั่งน้ำจะเป็นสัญลักษณ์บ่งถึงความตั้งใจที่บริสุทธิ์ น้ำใจที่ใสสะอาด ดังนั้น น้ำที่ใช้ในการหลั่งหรือกรวดจึงควรเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ เปรียบเสมือนน้ำใจของผู้กรวดโดยสายน้ำที่ไหลหลั่งลงมานั้นเปรียบเสมือนน้ำใจ ที่ไหลหลั่งออกมาให้ปรากฏแก่คนทั่วไป การกรวดน้ำที่นิยมโดยทั่วไปมี ๒ วิธี คือ ๑. กรวดน้ำโดยใช้น้ำหลั่งลงในภาชนะที่รองรับ หากที่หลั่งมีปากเล็ก เวลากรวดน้ำให้ค่อย ๆ รินใส่ที่รองโดยมิให้ขาดสาย ไม่ควรใช้มือหรือสิ่งใดกั้นสายน้ำขณะกรวดน้ำ หากที่หลั่งมีปากใหญ่ เช่น แก้วหรือถ้วยนิยมใช้นิ้วชี้รองที่ปากภาชนะ เพื่อให้น้ำไหลเป็นสายไม่ไหลเปรอะนอกพื้น เมื่อกรวดเสร็จให้นำไปเทไว้ที่โคนไม้หรือที่กลางแจ้ง ห้ามเทใส่ถังขยะหรือสถานที่สกปรก เพราะถือว่าเป็นน้ำใจของผู้กรวดน้ำไม่ควรให้สกปรก ๒. กรวดน้ำโดยไม่ต้องใช้น้ำ วิธีนี้นิยมในกรณีที่ไม่ได้จัดเตรียมน้ำสำหรับกรวดหรือหาน้ำกรวดไม่ได้ ผู้กรวดพึงตั้งใจอุทิศส่วนกุศลที่ตนได้ทำให้แก่ผู้ที่ต้องการอุทิศไปให้ก็ ใช้ได้ แม้จะไม่มีน้ำกรวดก็ยังคงเรียกว่า กรวดน้ำ เช่นกัน การกรวดน้ำ สามารถทำได้ทุกเมื่อหลังการบำเพ็ญบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล ผลที่เกิดเพราะหน้าที่จะพึงเห็นคือ ๑. ความมีน้ำใจกว้าง เผื่อแผ่ของผู้กรวดน้ำ เพราะนอกเหนือจากการทำความดีอันเป็นการได้ความเบิกบานในขั้นแรกเฉพาะตนแล้ว ยังมีใจกว้างแบ่งส่วนบุญนั้นแก่ผู้อื่นอีกด้วย หากเป็นการให้ทานก็ถือว่าเป็นการให้ ๒ ต่อ ๒. ความผูกพันระหว่างผู้กรวดน้ำและผู้ที่ถูกอุทิศส่วนกุศลไปให้ ซึ่งเป็นความผูกพันที่เกี่ยวโยงกันตลอดเวลา ส่วนผลที่เกิดขึ้นที่มองไม่เห็นคือ หากผู้ถูกอุทิศให้อนุโมทนาหรือรับส่วนบุญที่อุทิศไปให้ก็จะได้รับผลบุญนั้น เช่น เปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ผู้นั้นก็จะพึงยินดีผูกพันต่อผู้กรวดน้ำไปให้ และหากเขาไม่ได้อนุโมทนาหรือไม่รับส่วนบุญ ส่วนบุญก็จะตกเป็นของผู้กรวดน้ำนั่นเองเปรียบดั่งเช่นอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่นำมาต้อนรับแขก หากแขกไม่รับอาหารหรือเครื่องดื่มนั่นก็ยังคงตกเป็นของเจ้าอยู่ดี ฉะนั้น ส่วนขั้นตอนการกรวดน้ำเริ่มจากที่พระสงฆ์กล่าวอนุโมทนาว่า ยถา วาริวหา.... ให้เริ่มเทน้ำกรวดพร้อมกับตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่ผู้ที่ต้องการให้ รับ โดยอาจระบุชื่อ นามสกุลด้วยก็ได้ หรืออาจจะอุทิศโดยไม่เจาะจงผู้ใดผู้หนึ่งก็ได้ ส่วนคำกรวดน้ำจะกล่าวเป็น ภาษาไทย หรือภาษาบาลีแบบสั้นหรือแบบยาวก็ได้ เมื่อพระสงฆ์สวดบทว่า สพฺพีติโย... ให้เทน้ำที่เหลือลงในภาชนะรองรับให้หมด
|