สถิติ
เปิดเมื่อ6/08/2012
อัพเดท8/02/2016
ผู้เข้าชม102034
แสดงหน้า115626
ปฎิทิน
March 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
      
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
     




กฏแห่งกรรม (เข้าชม 1394 ครั้ง)

 


กฎแห่งกรรม
        กฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติ ข้อหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกระทำ และผลแห่งการกระทำ ซึ่ง การกระทำและ ผลแห่งการกระทำนั้น ย่อมสมเหตุ สมผลกัน เช่น ทำดี ย่อมได้รับผลดี ทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว เป็นต้น

  - กรรมใด ใครก่อ ตนเองเท่านั้นที่จะได้รับผลของสิ่งที่กระทำ -กรรมในปัจจุบันเป็นผลมาจากการกระทำในอดีต และกรรมที่ก่อไว้ในปัจจุบันเป็นเหตุที่จะส่งผลสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต

  - กรรมดี-กรรมชั่ว ลบล้างซึ่งกันและกันไม่ได้

  - ถึง แม้ว่าการทำกรรมดีจะลบล้างกรรมชั่วเก่าที่มีอยู่เดิมไม่ได้ แต่มีส่วนช่วยให้ผลจากกรรมชั่วที่มีอยู่เดิมผ่อนลง คือ การผ่อนหนักให้เป็นเบา (ข้อนี้ อุปมาได้กับ การที่เรามีน้ำขุ่นข้นอยู่แก้วหนึ่ง หากเติมน้ำบริสุทธิ์ลงไปแล้ว มิสามารถทำให้น้ำขุ่นกลับบริสุทธิ์ได้ แต่ทำให้น้ำขุ่นข้นนั้นกลับเจือจางลงและใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม)

สัตว์ ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

    กรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
 1. กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญกรรม
 2. กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม หรือ บาปกรรม

กรรม 2

กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม - Kamma: action; deed)

  1. อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ - Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed)

  2. กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed)

การจำแนกประเภทของกรรม

    กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้

 * กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง

 * กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง

 * กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง

 * กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง

 จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม

   การก ระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ

 1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้

 2. อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า

 3. อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป

 4. อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก

  จำแนกตามหน้าที่ของกรรม

กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ

 1. ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด

 2. อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม

 3. อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน

 4. อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว

 จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม

      กรรม จำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง

1. ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม

2. พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม

3. อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น 4. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป (กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม) กตัตตากรรมนี้ ในตำราทางพุทธศาสนาหลายแห่ง (เช่น หนังสือกรรรมทีปนี พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม และหนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความ) ได้บรรยายไว้ว่า หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล

  จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม

กรรม จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย (ข้ออื่นๆข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตันตนัย)

1. อกุศลกรรม

2. กามาวจรกุศลกรรม

3. รูปาวจรกุศลกรรม

4. อรูปาวจรกุศลกรรม

 

 

 

กรรมดำ กรรมขาว

     นอกจากเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการอธิบายกรรมอีกนัยหนึ่ง โดยอธิบายถึงกรรมดำกรรมขาว จำแนกเป็นกรรม 4 ประการ คือ

1. กรรมดำมีวิบากดำ ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคล    อื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา

2. กรรมขาวมีวิบากขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็งอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ

3. กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน

4. กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด

 

 

บาป-บุญ

         ทำบุญ – บาป โดยไม่รู้ ก็เป็นบุญ – บาป เหมือนกัน ข้อนั้นพึงทราบการการทำโดยไม่รู้ตัวดังนี้ พวกเด็กรุ่น คิดว่าเราจะทำกิจที่มารดาบิดาทำไว้ จึงไหว้เจดีย์ บูชาด้วยดอกไม้ ไหว้หมู่ภิกษุสงฆ์ แม้ทั้งที่เขาไม่รู้ว่าเป็นกุศล (บุญ) การกระทำนั้นก็เป็นกุศลทั้งนั้น. สัตว์เดียรัจฉานมีเนื้อและนกเป็นต้นก็เหมือนกัน ฟังธรรม ไหว้สงฆ์ ไหว้เจดีย์ ทั้งที่มันรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง การกระทำนั้นก็เป็นกุศลเหมือนกัน แต่พวกเด็กรุ่น เอามือและเท้าเตะตีมารดาบิดา ยกมือขู่ตะคอก ขว้างก้อนดิน ด่า แม่โคไล่ตามหมู่ภิกษุ เหล่าสุนัขไล่ตามกัด สีหะและพยัคฆ์เป็นต้น(สิงโตและเสือ) ไล่ตามฆ่า ทั้งที่มันรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง พึงทราบว่า เป็นอกุศลกรรม (บาป) ทำชั่วเพราะพ่อ     – แม่ นรกก็ไม่ยกเว้น พระสารีบุตร : ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม (ทำบาป)

เพราะ เหตุแห่งบิดามารดา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย นายธนัญชานิ : ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านสารีบุตร ที่แท้ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนลงในนรกจนได้ฆ่าสัตว์ทำบุญได้บาป ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้ สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์โทมนัส (โศกเศร้าเสียใจ) ชื่อว่า ย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๒ นี้ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่า ย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้ สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ (อันไม่สมควร) ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕ นี้ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต
 
ผู้นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมากด้วยเหตุ ๕ ประการนี้

        ยินดีใน ความบาปผู้อื่น...บาปมาก ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมงวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยังที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัส (ความดีใจ) ให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตายนั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้นเหมือนกันด้วยอกุศลกรรม (บาปกรรม) นั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง 4 (คือนรก – เปรต – อสุรกาย – สัตว์เดรัจฉาน) ในอัตภาพ ( ความเป็นตัวตน ) หลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้นแม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความเจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ก็ถึงความพินาศกันหมดในสงความของเจ้าวิฑูฑภะ เมื่อบาปตามบีบคั้น ในเพราะกรรมนั้น จำเดิม แต่กาล (เวลา) ที่ทารกเกิดในท้องมารดา (แม่ ) มารดาย่อมไม่มีความเบาใจ หรือไม่มีความสุข

และความบีบคั้นย่อมเกิด แก่บิดามารดา ย่อมนำอันตรายเข้ามาอย่างนี้ ก็จำเดิมแต่กาลที่ทารกเกิดในท้องมารดา โภคะ (ทรัพย์สมบัติ) ทั้งหลายในเรือน ย่อมฉิบหายด้วยอำนาจแห่งราชาเป็นต้น เหมือนเกลือถูกน้ำ แม่โคทั้งหลายที่รีดนมลงในภาชนะก็ไม่ให้น้ำมัน ฝูงโคจะกล้าดุร้าย มีตาบอดเป็นง่อย โรคจะระบาดในคอกโค บริวารชนมีทาสเป็นต้น ไม่เชื่อฟัง ข้าวกล้าที่หว่านไว้จะไม่เกิด ข้าวกล้าที่อยู่ในเรือนย่อมพินาศในเรือน ที่อยู่ในป่าก็พินาศในป่า วัตถุ (สิ่งของ) สักว่าบำบัดความหิวกระหายก็หาได้ยาก โดยลำดับ เครื่องบริหารครรภ์ก็ไม่มี. เวลาทารกคลอดแล้วน้ำนมของมารดาก็จะขาดทารกเมื่อไม่ได้บริหาร ก็ถูกบีบคั้น ปราศจากรสเหี่ยวแห้ง ไร้ค่า นี้ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม (บาปกรรมที่ตามบีบคั้น – เบียดเบียน)

ทำบาปพอประมาณ...แก้ไขได้ ดูก่อนนายคามณี ก็พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้มีโชค เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ ตถาคตนั้นทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาต และตรัสว่า จงงดเว้นจากปาณาติบาต ทรงตำหนิติเตียนอทินนาทาน และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทาน ทรงตำหนิติเตียนกาเมสุมิจฉาจาร และตรัสว่า จงงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงตำหนิติเตียนมุสาวาท และตรัสว่า จงงดเว้นจากมุสาวาท โดยอเนกปริยาย สาวกเป็นผู้เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาตโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากปาณาติบาต ก็สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อที่เราฆ่าสัตว์มากมายนั้น ไม่ดีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาตนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมความ ว่า บทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา นี้ เมื่อกล่าวว่า เมตตา หมายถึงทั้งที่เป็นอุปจาร ทั้งที่เป็นอัปปนา แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตติ ก็หมายถึงที่เป็นอัปปนาเท่านั้น บทว่า ยํ ปมาณกตํ กมฺมํ ความว่า กรรมที่ทำพอประมาณ เรียกว่า กามาวจร กรรมที่ทำหาประมาณมิได้ เรียกว่า รูปาวจร กรรมที่เป็นรูปาวจรนั้น เรียกว่า ทำหาประมาณมิได้เพราะทำขยายเกินประมาณ แผ่ไปทุกทิศทั้งเจาะจงและไม่เจาะจง บทว่า น ตํ ตตฺราวสิสฺสติ น ตํ ตตฺราวติฏฺติ ความว่า กรรมที่เป็นกามาวจร ไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ ในกรรมที่เป็นรูปาวจรนั้น. อธิบายอย่างไร ? อธิบายว่า กรรมที่เป็นกามาวจรนั้น

ไม่อาจที่จะติดหรือตั้งอยู่ใน ระหว่างแห่งกรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจรนั้น ไม่อาจที่จะแผ่ไปถึงกรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร แล้วยึดถือเป็นโอกาสของตนตั้งอยู่ ที่แท้ กรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจรนั่นเอง ย่อมแผ่ทับกรรมที่เป็นกามาวจร เข้าตั้งแทนที่ เหมือนห้วงน้ำใหญ่แผ่น้ำไปทีละน้อยเข้าตั้งแทนที่ ห้ามวิบาก (ผล) ของกรรมที่เป็นกามาวจรนั้นแล้วนำเข้าถึงความเป็นสหายกับพรหมในสมัยนั่นแล พระสูตรที่ดำเนินไปตามอนุสนธิทีเดียว เพราะตอนต้นเริ่มด้วยอำนาจกิเลส ตอนท้ายถือเอาด้วยอำนาจพรหมวิหาร

ทำเล่นๆก็เป็นบาปนะ พระเจ้าสักขระตรัสถามว่า : ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ และมีกลิ่นหอมฟุ้งไป ท่านได้สำเร็จฤทธิ์แห่งเทวดา เป็นผู้มีอานุภาพมาก แต่เป็นคนเปลือยกาย นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร เปรตนั้นกราบทูลว่า : เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นคนไม่มักโกรธ ทั้งมีจิตเลื่อมใสอยู่เป็นนิตย์ พูดกับคนทั้งหลายด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์มีรัศมีเป็นทิพย์ สว่างไสวอยู่เนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น ข้าพระองค์เห็นยศและชื่อเสียงของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญ ข้าพระองค์มีกลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไปเนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์อาบน้ำที่ท่าน้ำ ข้าพระองค์ลักเอาผ้าซ่อนไว้บนบก ไม่มีความประสงค์จะลักขโมย และไม่มีจิตคิดประทุษร้าย เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นคนเปลือยกาย เป็นอยู่อย่างฝืดเคืองพระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า : ผู้ใดทำบาปเล่น ๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ผู้นั้นได้รับผลกรรมเช่นนี้ ส่วนผู้ใดตั้งใจทำบาปจริงๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวผลกรรม ของผู้นั้นว่าเป็นอย่างไร ? เปรตกราบทูลว่า : มนุษย์เหล่าใด มีความดำริชั่วร้าย เป็นผู้เศร้าหมองด้วยกายและวาจา เพราะกายแตกตายไป มนุษย์เหล่านั้น ย่อมเข้าถึงนรกในสัมปรายภพ (ภพหน้า) โดยไม่ต้องสงสัย ส่วนชนเหล่าอื่นปรารถนาสุคติ ยินดียิ่งในทาน มีอัตภาพอันสงเคราะห์แล้ว เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติในสัมปรายภพ โดยไม่ต้องสงสัยล้อเลียนคนพิการ ก็จะได้เป็นเช่นเดียวกับคนพิการในชาติข้างหน้า ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางจึงได้เป็นหญิงค่อม ? ตอบว่า เล่ากันว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น นางอยู่ในพระราชวังของพระเจ้าพาราณสี เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นราชกุลุปกะ (พระประจำราชตระกูล) องค์หนึ่ง หลังค่อมนิดหน่อย เมื่อจะทำการล้อเลียนต่อหน้าหญิงที่อยู่ด้วยกันกับตน จึงได้แสดงอาการหลังค่อมเป็นการสนุกสนานตามที่กล่าว เพราะเหตุนั้น นางจึงบังเกิดเป็นหญิงค่อม

เมื่อทำบาปเอง...ก็ต้องไปนรกเอง ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษโยนหินก้อนหนาใหญ่ ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชนพึงมาประชุมกัน แล้วสวดวิงวอนสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบหินนั้นว่า ขอจงโผล่ขึ้นเกิดท่านก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิดท่านก้อนหิน ขอจงขึ้นบกเถิดท่านก้อนหิน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินนั้นพึงโผล่ขึ้น พึงลอยขึ้น หรือพึงขึ้นบก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ นายคามณีกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้าพระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษคนใดฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา (ความโลภอยากได้ของเขา)มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชน พึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็จริง แต่บุรุษนั้นเมื่อตาย พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

คนใกล้ตาย ควรเตรียมใจอย่างไร ? ส่วนในบรรดากุศลกรรม (บุญ)และอกุศลกรรม (บาป) ทั้งหลาย กรรมใดสามารถเพื่อจะให้ระลึกถึง ในเวลาใกล้ตาย กรรมนั้น ชื่อว่า ยทาสันนกรรม.๒ ยทาสันนกรรมนั่นแหละ เมื่อกุศลกรรมและอกุศลกรรมเหล่าอื่น ถึงจะมีอยู่ก็ให้ผล (ก่อน) เพราะอยู่ใกล้มรณกาล (เวลาตาย) เหมือนเมื่อเปิดประตูคอก ที่มีฝูงโคเต็มคอก บรรดาโคฝึกและโคมีกำลัง ถึงจะอยู่ในส่วนอื่น (ไกลปากคอก) โคตัวใดอยู่ใกล้ประตูคอก โดยที่สุดจะเป็นโคแก่ถอยกำลังก็ตาม โคตัวนั้น ก็ย่อมออกได้ก่อนอยู่นั่นเอง ฉะนั้นในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง เล่ากันมาว่า ในบ้านมธุอังคณะ. มีนายประตูชาวทมิฬคนหนึ่งถือเอาเบ็ดไปแต่เช้า ตกปลาได้แล้วแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งเอาแลกข้าวสาร ส่วนหนึ่งแลกนม ส่วนหนึ่งต้มแกงกินโดยทำนองนี้ เขาทำปาณาติบาตอยู่ถึง ๕๐ ปี ต่อมาแก่ตัวลง ล้มหมอนนอนเสื่อ ในขณะนั้น พระจุลลปิณฑปาติกติสสเถระ ชาวคิรีวิหาร รำพึงว่า คนผู้นี้ เมื่อเรายังเห็นอยู่อย่าพินาศเสียเลย แล้วไปยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา ขณะนั้นภริยาของเขาจึงบอกว่า นี่ ! พระเถระมาโปรดแล้ว เขาตอบว่า ตลอดเวลา ๕๐ ปี เราไม่เคยไปสำนักของพระเถระเลย ด้วยคุณความดีอะไรของเรา ท่านจึงต้องมา เธอจงไปนิมนต์ให้ท่านไปเสียเถิด นางบอกพระเถระว่า นิมนต์ไปโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า พระเถระถามว่า อุบาสกมีพฤติการทางร่างกายอย่างไร นางตอบว่า อ่อนแรงแล้วเจ้าข้าพระเถระเข้าไปยังเรือนให้สติ แล้วกล่าวว่า โยมรับศีล (ไหม)เขาตอบว่า รับ ขอรับพระคุณเจ้า นิมนต์ให้ศีลเถิดพระเถระให้สรณะ ๓ แล้ว เริ่มจะให้ศีล ๕. ในขณะที่อุบาสกนั้น ว่า ปญฺจ

สีลานิ นั่นแหละ ลิ้นแข็งเสียแล้ว พระเถระคิดว่า เท่านี้ก็พอควร แล้วออกไป ส่วนเขาตายแล้วไปเกิดในภพจาตุมหาราชิกะ. ก็ในขณะที่เขาเกิดนั่นแหละ รำลึกว่า เราทำกรรมอะไรหนอ จึงได้สมบัตินี้ รู้ว่าได้ เพราะอาศัยพระเถระ จึงมาจากเทวโลก ไหว้พระเถระแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งเมื่อ

พระ เถระถามว่านั่นใคร? ตอบว่า กระผม (คือ) คนเฝ้าประตูชาวทมิฬครับ พระคุณเจ้า พระเถระถามว่า ท่านไปเกิดที่ไหน ? ตอบว่า ผมเกิดที่ชั้นจาตุมหาราชิกภพ ครับพระคุณเจ้า ถ้าหากพระคุณเจ้าได้ให้ศีล ๕ แล้วไซร้ ผมคงได้เกิดในชั้นสูงขึ้นไป ผมจักทำอย่างไร ? พระเถระตอบว่า ดูก่อนเทพบุตร ท่านไม่สามารถจะรับเอาได้เอง เทพบุตรไหว้พระเถระ แล้วกลับไปยังเทวโลก. นี้เป็นเรื่อง (ตัวอย่าง) ในกุศลกรรมก่อน

พึ่งศีลดีกว่าพึ่งเทวดา ได้ยินว่า ชนจำนวนมากด้วยกันได้ทำการค้าทางทะเล ใช้เรือแล่นไปสู่ทะเลเมื่อเรือแห่งชนเหล่านั้นไปอยู่โดยเร็ว ปานลูกธนูอันบุคคลซัดไปแล้ว ในวันที่ ๗ จึงเกิดเหตุร้ายใหญ่ในท่ามกลางทะเล คือ คลื่นใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว ก็ยังเรือให้เต็มไปด้วยน้ำ เมื่อเรือกำลังจะจมลง มหาชนจึงนึกถึงชื่อเทวดา ของตน ๆ แล้วกระทำกิจมีการอ้อนวอนเป็นต้น คร่ำครวญแล้ว. ในท่ามกลางแห่งชนเหล่านั้น บุรุษคนหนึ่งนึกว่า เราต้องประสบภัยร้ายเห็นปานนี้แน่ จึงนึกถึงธรรมของตน เห็นแล้วซึ่งสรณะทั้งหลาย และศีลทั้งหลายก็บริสุทธิ์แล้ว จึงนั่งขัดสมาธิ ดุจพระโยคี พวกชนทั้งหลายจึงถามท่านถึงเหตุอันไม่กลัวนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ใช่แล้ว เราไม่กลัวภัยเห็นปานนี้ เพราะเราถวายทานแก่หมู่แห่งภิกษุในวันที่ขึ้นเรือ เราได้รับสรณะทั้งหลาย และศีลทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่กลัว ดังนี้ ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ก็สรณะและศีลเหล่านี้ สมควรแก่ชนพวกอื่นบ้างหรือไม่บัณฑิตนั้นตอบว่า ใช่แล้ว ธรรมเหล่านี้ย่อมสมควรแม้แก่พวกท่านชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ขอท่านบัณฑิตจงให้แก่พวกเราบ้างชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น จึงจัดทำพวกมนุษย์เหล่านั้นให้เป็นพวกละร้อยคน รวมเป็น ๗ พวกด้วยกัน ต่อจากนั้นก็ให้ศีล ๕. ในบรรดาชน ๗ พวกนั้น ชนจำนวนร้อยคนพวกแรกตั้งอยู่ในน้ำมีข้อเท้าเป็นประมาณ

จึงได้รับศีล

พวก ที่ ๒ ตั้งอยู่ในน้ำมีเข่าเป็นประมาณ... พวกที่ ๓ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะเอวเป็นประมาณ... พวกที่ ๔ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะดือเป็นประมาณ... พวกที่ ๕ ตั้งอยู่ในน้ำมีนมเป็นประมาณ... พวกที่ ๖ ตั้งอยู่ในน้ำมีคอเป็นประมาณ... พวกที่ ๗ น้ำทะเลกำลังจะไหลเข้าปาก จึงได้รับศีล ๕ แล้ว ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น ครั้นให้ศีล ๕ แก่ชนเหล่านั้นแล้ว จึงประกาศเสียงกึกก้องว่า สิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเฉพาะของพวกท่านไม่มี พวกท่านจงรักษาศีลเท่านั้น ดังนี้ ชนทั้ง ๗๐๐ เหล่านั้น ทำกาละ (ตาย) ในทะเลนั้นแล้ว ไปบังเกิดขึ้นในภพ ดาวดึงส์ เพราะอาศัยศีลอันตนรับเอาในเวลาใกล้ตาย. วิมานทั้งหลายของเทวดาเหล่านั้นก็เกิดขึ้นเป็นหมู่เดียวกัน วิมานทองของอาจารย์มีประมาณร้อยโยชน์เกิดในท่ามกลางแห่งวิมานทั้งหมด เทพที่เหลือเป็นบริวารของเทพที่เป็นอาจารย์นั้น วิมานที่ต่ำกว่าวิมานทั้งหมดนั้น ก็ยังมีประมาณถึง ๑๒ โยชน์

การถวายสังฆทาน ที่ถูกต้อง

          การ ถวายทาน นั้น บางคนอยากทำแต่ไม่เข้าใจขั้นตอน ลองทำตามนี้ดูนะครับ ๑. หลักสำคัญของการถวายทานเป็นการสงฆ์มีอยู่ว่า ต้องตั้งใจถวายเป็นสงฆ์จริง ๆ อย่าเห็นแก่หน้าบุคคลผู้รับว่า เป็นภิกษุหรือสาม เณร เป็นพระสังฆเถระ หรือพระอันดับ ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะเป็นเหตุให้จิตใจไขว้เขว เกิดความยินดียินร้าย ไปตามบุคคลผู้รับ ซึ่งจะเสีย พิธีสังฆทานไป ควรทำใจว่าผู้รับจะเป็นบุคคลชนิดใด ๆ ก็ตาม เมื่อเป็นผู้รับในนามของสงฆ์ ซึ่งสงฆ์จัดมา หรือเป็นผู้มาถึงเฉพาะ หน้า ในขณะตั้งใจถวายสงฆ์แล้ว ก็ถวายทานนั้น ๆ อุทิศให้ เป็นสงฆ์จริง ๆ ๒. ตระเตรียมทานวัตถุที่ต้องการถวายให้เสร็จเรียบร้อย ตามศรัทธาและทันเวลาถวาย ถ้าเป็นภัตตาหาร จีวร และ คิลานเภสัช ซึ่งเป็นวัตถุยกประเคนได้ จะเป็นของถวายเนื่องด้วยกาล หรือไม่ก็ตาม ต้องจัดให้ถูกต้องตามนิยมของทานชนิดนั้น ๆ แต่ถ้าเป็นเสนาสนะหรือเครื่องเสนาสนะ ซึ่งต้องก่อสร้างกับที่และเป็นของใหญ่ใช้ติดที่ ก็ต้องเตรียมการตามสมควร ๓. เผดียงสงฆ์ คือ แจ้งความประสงค์ที่จะถวายทานนั้น ๆ ให้สงฆ์ทราบ ถ้าเป็น ภัตตาหาร หรือ จีวร คิลานเภสัช ซึ่งมี จำนวนจำกัดไม่ทั่วไปแก่สงฆ์ ผู้รับให้ตามจำนวนต้องการ และนัดแนะสถานที่กับกำหนดเวลาให้เรียบร้อยด้วย ๔. ในการถวายทานนั้น ถ้ามีพิธีอื่นประกอบด้วย ก็เป็นเรื่องของพิธีแต่ละอย่าง ๆ ไป เฉพาะพิธีถวายทานเมื่อถึงกำหนด ฝ่ายทายกพึงดำเนินพิธี ดังนี้ ก. จุดธูปเทียนหน้าที่บูชาพระ ถ้ามีตั้งอยู่ด้วย ข. อาราธนาศีล และรับศีล ค. ประนมมือกล่าวว่าคำถวายทานนั้น ๆ ตามแบบ ในการกล่าวคำถวายนี้ ทุกครั้ง ต้องตั้ง นโมก่อน ๓ จบ ถ้าถวายรวมกันมากคน ควรว่า นโม พร้อมกันก่อน แล้วหัวหน้ากล่าวนำคำถวายให้ผู้อื่นว่าตามเป็นคำ ๆ ทั้งคำบาลีและคำแปล จนจบ แต่คำ แปลในบางกรณีที่มีคำถวายบาลียืดยาวจะเว้นไม่กล่าวก็ได้ ต่อนั้นถ้าเป็นของควร ประเคนก็ประเคน จะประเคนสิ่งของประเภทอาหาร แต่เที่ยงแล้วไปหาได้ไม่ อนึ่ง เสนาสนะหรือ วัตถุที่ใหญ๋โต ไม่สามารถจะยกประเคนได้ ถ้าประสงค์จะประเคน ใช้น้ำหลั่งลงบนมือของ

สงฆ์ ผู้เป็น ประธานในพิธี ก็ถือว่าได้ประเคนแล้ว ๕. พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนา เพื่อรับสังฆทานตามธรรมเนียมของทานนั้น ๆ แล้ว บางพวก ในขณะที่ทายกกล่าวคำถวาย ทานประนมมือ เป็นอาการแสดงถึงการรับทานโดยเคารพ เมื่อทายกกล่าวคำถวายจบแล้วเปล่งวาจา สาธุ พร้อมกัน บางพวก เมื่อ ทายกกล่าวคำถวายจบ แล้วจึงประนมมือ เปล่งวาจา สาธุ ทั้งนี้สุดแต่จะควร สถานใดกล่าวไว้ตามที่เคยเห็นเท่านั้นการถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควร ให้เป็นทานนี้ว่า“ทานวัตถุ” ท่านจำแนกไว้ ๑๐ ประการ คือ

(๑) ภัตตาหาร

(๒) น้ำรวม ทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค

(๓)ผ้าเครื่องนุ่งห่ม

(๔) ยานพาหนะ สงเคราะห์ ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย

(๕) มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิดต่าง ๆ

(๖) ของหอม หมายถึง ธูปเทียนบูชาพระ

(๗) เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่องสุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด มีสบู่ถูกตัว เป็นต้น

(๘) เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ

(๙)ที่อยู่อาศัย มีกุฏิเสนาสนะ และ เครื่องสำหรับเสนาสนะเช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

(๑๐)เครื่องตามประทีป มีเทียน จุดใช้แสงตะเกียง น้ำมันตะเกียงและไฟฟ้า เป็นต้น ทั้ง ๑๐

        ประการ นี้ควรแก่การถวายเป็นทาน แก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอย หรือบูชาพระตามสมควร แต่การถวายทานนี้มีนิยม๒ อย่าง คือ ๑. ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้อย่างหนึ่ง เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน ๒. ถวายไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอยเอง อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า สังฆทาน สำหรับปาฏิบุคลิกทานไม่จำต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย เพราะผู้ถวายเกิดศรัทธา จะถวายสิ่งไร แก่ภิกษุหรือสามเณรรูปใด ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวายเฉพาะรูปนั้น เป็นรายบุคคล สำเร็จเป็นทานแล้ว และผู้รับปาฏิบุคคลทาน จะอนุโมทนาอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน แต่สำหรับสังฆทาน เป็นการถวายสงฆ์เกี่ยวกับพระสงฆ์ส่วนรวมในวัด จัดเป็น การสงฆ์ไม่ใช่การบุคคลดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยพิธีกรรม โดยเฉพาะการถวาย และการอนุโมทนาของสงฆ์ย่อมมีพิธีปฏิบัติ ฉะนั้นในหมวดนี้ จึงจะกล่าวทานพิธีเฉพาะส่วน ที่ถวายเป็นการสงฆ์อย่างเดียว และทานที่ถวายสงฆ์นั้น แม้มีกำหนดวัตถุเป็น ๑๐ ชนิดแล้ว ก็มีนิยมถวายวัตถุใน ๑๐ ชนิดนั้นเป็นรายการ ๆ แยกคำถวายต่างกันออกไปอีกมากมาย แต่จะเป็นถวายอะไรก็ตามเมื่อสงเคราะห์ก็อยู่ในปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ทั้งนั้นและการถวายก็มีนิยมเป็น ๒ คือ ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น ๆ เรียกว่า

กาลทาน ๑ถวายไม่เนื่องด้วยกาลหรือนอกกาลอีก ๑ ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติ ดังข้างต้น การจัดเครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์
        ๑ เครื่องไทยธรรม คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวายแก่พระสงฆ์ ได้แก่ ปัจจัย ๔
        ๒ สิ่งของที่ประเคนพระสงฆ์ได้ในเวลาเช้าชั่วเที่ยง ได้แก่ ประเภทอาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหาร เครื่องกระป๋องทุกประเภท หากนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายในเวลาหลังเที่ยงวันแล้ว เพียงแต่แจ้งให้ภิกษุรับทราบ แล้วมอบสิ่งของเหล่านั้น แก่ศิษย์ของท่าน ให้เก็บรักษาไว้ทำถวายในวันต่อไปก็พอ
        ๓ สิ่งของที่ประเคนพระสงฆ์ได้ตลอดเวลา ได้แก่ ประเภทเครื่องดื่ม เครื่องยาบำบัดความเจ็บไข้ และประเภทเภสัช เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หมากพลู หรือประเภทสิ่งของที่ไม่ใช่ของสำหรับขบฉัน ๔ สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนพระสงฆ์ ได้แก่ เงินและวัตถุสำหรับใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร เป็นต้น (ในการถวาย ควรใช้ใบปวารณาแทนตัวเงิน ส่วนตัวเงินมอบไว้กับไวยาวัจกรของพระภิกษุนั้น) ขยายความ เครื่องไทยธรรม คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวายแก่พระสงฆ์ ได้แก่ ปัจจัย ๔ และสิ่งของที่นับเนื่องด้วยปัจจัย ๕ คือ ๑. เครื่องนุ่งห่มประเภทเครื่องผ้าทุกชนิด ที่มีสีสมควรแก่พระภิกษุสามเณรใช้สอยได้ ซึ่งมีสีไม่ฉูดฉาดบาดตา เป็นของไม่กาววาว เผ่น ผ้าลายดอกไม้ เป็นต้น เป็นของไม่สมควรใช้นุ่งห่มสำหรับสมณะ ๒. เครื่องขบฉันต่างชนิด ทั้งอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มนานาชนิด ยกเว้นเครื่องดองของเมา เช่น สุราเมรัย และยาเสพย์ติดให้โทษทุกชนิด ๓. เครื่องอุปกรณ์ที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมเรียกว่า เครื่องสุขภัณฑ์ ได้แก่ ตู้ เรียง โต๊ะ เก้าอี้ ที่นอน เสื่อ หมอน มุ้ง พรม เป็นต้น รวมทั้งเครื่องชำระมลทินกาย เช่น สบู่ถูตัว ๔ เครื่องยาบำบัดความป่วยไข้ทุกชนิดและเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ( น้ำตาล ) เป็นต้น ฯ สิ่งของที่ประเคนถวายพระได้เวลาเช้าถึงเที่ยงเครื่องไทยธรรมประเภทอาหารคาว หวานทุกชนิด ทั้งอาหารสดอาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท เช่น ๑. อาหารสด ได้แก่ อาหารคาวและหวาน รวมทั้งผลไม้ ทุกชนิด ๒. อาหารแห้ง ได้แก่ เครื่องเสบียงกรังทุกชนิด เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ข้าสารเป็นต้น ๓. อาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท เช่น นม โอวัลติน เป็นต้น สิ่งของเหล่านี้ทั้งหมด นิยมประเคนถวายพระสงฆ์ได้เฉพาะเช้าชั่วเที่ยงเท่านั้น เมื่อเลยเที่ยงวันไปแล้ว มีพระวินัยพุทธบัญญัติห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์รับประเคน ถ้ารับประเคนต้องอาบัติโทษ ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิงนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในเวลาหลังเที่ยง วันไปแล้วนิยมเพียงแต่แจ้งให้

       พระภิกษุรับทราบ แล้วมอบสิ่งของเหล่านั้นให้ไว้แก่ศิษย์ของท่านให้ศิษย์เก็บรักษาไว้นำไปถวาย ท่านในวันต่อไป สิ่งของที่ประเคนถวายพระได้ตลอดเวลา ส่วนเครื่องไทยธรรมนอกจากประเภทอาหารดังกล่าวแล้ว เช่น ประเภทเครื่องดื่มทุกชนิดประเภทเครื่องยาบำบัดความป่วยไข้ทุกชนิด และประเภทเภสัช เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อยหรือสิ่งของที่ไม่ใช่ของขบฉันนิยมประเคนถวายพระได้ตลอดเวลา ไม่มีข้อกำหนดห้าม สิ่งของที่ทรงห้ามมิให้พระภิกษุจับต้อง สิ่งของที่ทรงห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์จับต้องเรียกว่า ' วัตถุอนามาส ' ได้แก่ วัตถุสิ่งของดังต่อไปนี้ ๑. ผู้หญิง รวมทั้งเครื่องแต่งกายหญิง รูปภาพหญิง หรือรูปปั้นทุกชนิด ๒. รัตนะ ๑๐ ประการ คือ ทอง เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์ ( ที่เลี่ยมทอง ) ศิลา เช่น หยก และโมรา เป็นต้น ๓. เครื่องศาสตราอาวุธทุกชนิด อันเป็นเครื่องทำลายชีวิต ๔. เครื่องดักสัตว์บกและสัตว์น้ำทุกชนิด ๕. เครื่องปะโคมดนตรีทุกอย่าง ๖. ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่กับที่ สิ่งของที่เป็นวัตถุอนามาสเหล่านี้ทุกชนิด ไม่นิยมนำไปประเคนถวายพระภิกษุเพราะผิดวินัยพุทธบัญญัติทำให้พระภิกษุต้อง อาบัติโทษ คำถวายสังฆทาน(ประเภทสามัญ) อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
       คำ แปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ