สถิติ
เปิดเมื่อ6/08/2012
อัพเดท8/02/2016
ผู้เข้าชม96463
แสดงหน้า109927
ปฎิทิน
December 2023
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
     
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
      




หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา (เข้าชม 1308 ครั้ง)

อริยมรรคมีองค์ 8

        ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มี่เรียกว่า ทุกข์นิโรธคามินีปฏิทา นั้นได้แก่อริยมรรค ซึ่งแปลว่ามรรคหรือหนทางอันประเสริฐ มีองค์ประกอบอยู่ 8 ประการ คือ

1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ หมายถึง ความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บิดามาดามีพระคุณ เห็นว่าบุญมี บาปมี เห็นหรือเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต เช่น เห็นไตรลักษณ์ เห็นปฏิจจสมุปบาท รู้เห็นปัญหาชีวิตเรื่องเรื่องความทุกข์ต่างๆ สาเหตุเกิดของปัญหาชีวิต อุดมการณ์ของชีวิต และแนวทางสำหรับปฏิบัติเพื่อให้บรรลุอุดมการณ์อันนั้น ข้อสังเกตในที่นี้ก็คือว่า การบรรลุอุดมการณ์อันสูงส่งของชีวิตที่เรียกว่านิโรธ หรือนิพพานนั้น ต้องมีความเห็นถูกต้องตามแนวที่พระอริยเจ้าทั้งหลายได้ปฏิบัติมาแล้ว มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฎฐิ ความเห็นผิดๆ ในเรืองชีวิตไป อนึ่งคำว่า 'เห็น' ในสัมมาทิฎฐินี้ หมายถึง เห็นด้วยใจ ใจเห็น ไม่ใช่ตาเห็น ที่แท้จริงก็คือ รู้หรือรู้เห็นนั้นเอง ความเห็นนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการที่จะลงมือปฏิบัติหรือกระทำอะไรลงไป ก็มักจะเป็นไปตามที่เห็นที่รู้หรือเข้าใจถ้าเห็นชอบก็จะทำให้เกิดการปฏิบัติ ที่ชอบที่ถูกที่ควร แต่ถ้าเห็นผิดเสียแล้วก็จะทำให้การกระทำต่างๆ พลอยผิดพลาดไปด้วย เพราะฉะนั้น ความเห็นชอบมีความรู้ที่ถูกต้องทีชอบ พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงจัดไว้เป็นอันดับแรก เป็นเรื่องของปัญญาของญาณสำหรับผู้จะเข้าถึงพุทธศาสนาแบบพ้นทุกข์ จะต้องเข้าถึงแบบผู้มีปัญญาหรือญาณ หรือสัมมาทิฎฐิ

2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ หมายถึง ความคิดชอบ ความคิดถูกต้อง หรือความตรึกตรองไปในทางที่ดี มีความหมายถึง 3 อย่าง คือ
   2.1 อวิหิงสาสังกัปปะ ความคิดดำริในอันไม่เบียดเบียนผู้อื่น คือ ไม่คิดที่จะทำให้ใครได้รับความเดือดร้อนทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม แม้แต่การกระทำแก่สัตว์เดรัจฉาน เข่น กัดปลา ชนไก่ ไล่ยิงเนื้อ ยิงนก และมีเมตตากรุณาต่อสัตว์อื่นคนอื่น

   2.2 อัพยาปาทสังกัปปะ ความคิดดำริในอันไม่ผูกพยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ ไม่อาฆาตมาตร้ายปองร้ายใครๆ หรือจองเวรกับใครๆ แต่พยายามกำจัดหรือบรรเทาความโกรธ ความอิจฉาตาร้อนอยู่เสมอ

   2.3 เนกขัมมสังกัปปะ ความคิดดำริในอันจะปลดเปลื้องความเกี่ยวข้องในทางการ คือมุ่งไปสู่ความจริงสงบจริงๆ อาจจะไม่ถึงกับต้องออกไปบวชเป็นพระนุ่งห่มผ้าเหลือง แต่หมายถึงการตั้งใจปลีกใจออกจากความเพลิดเพลินในกามารมณ์ จะเรียกว่า บวชใจ ก็ได้ คฤหัสถ์บางคนสามารถบำเพ็ญมรรคให้บริบูรณ์แล้วบรรลุอรหัตต์เป็นพระอรหันต์ได้ ก็มี

ข้อปฏิบัติสัมมาสังกัปปะนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้มีมุ่งบรรลุนิพพนาหรือคุธรรมเบื้องสูงนั้น จะต้องเป็นผู้มีใจไม่อาฆาตมาดร้ายใคร นั่นก็คือ มีใจสงบและมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่มีความติดดำริดังกล่าวก็เรียกว่า มิจฉาสังกัปปะ เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็ไม่สงบได้ง่ายๆ เลย เพราอาจจะตกเป็นทาสของความรัก ความชัง และความหลงผิด

3. สัมมาวาจา การเจรจาหรือวาจาชอบ เป็นทางปฏิบัติที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง อันหมายถึง การสำรวมระวังในการพูดไม่ให้ผิด ให้พูดแต่วจีสุจริต กล่าวคือ

    3.1 ไม่พูดคำเท็จทำให้ผู้อื่นเสียหาย พูดแต่คำสัตย์คำจริง พร้อมกับจริงใจในการพูด

    3.2 ไม่พูดส่อเสียดให้คนอื่นเข้าใจผิดทะเลาะเบาะแว้งกัน แตกความสามัคคีกัน พูดแต่คำที่จะเสริมสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ เน้นความประนีประนอม ความรัก ความสามัคคี เป็นสำคัญ

     3.3 ไม่พูดหยาบคายไว้วัฒนธรรมให้เกิดความเสียหายอับอายกับผู้อื่น พูดแต่คำที่ไพเราะอ่อนหวานมีวัฒนธรรมในการพูด ใช้คำพูดเหมาะสมกับผู้ฟัง

     3.4 ไม่พูดเพ้อเจ้อที่เรียกว่าพูดพล่าม หรือพูดเหลวไหลไร้สารประโยชน์ พูดแต่คำที่ถูกต้องประกอบด้วยสารประโยชน์เหมาะสมกับกาลเทศะ มุ่งประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับเป็นสำคัญ

การดำเนินชีวิตด้วยสัมมา วาจามีแต่จะก่อให้เกิดความเข้าใจกัน ไว้วางใจกัน และมีจิตใจสงบ สัมมาวาจาจึงจำเป็นในการรักษาใจไม่ให้ว้าวุ่นเดือดร้อน

4. สัมมากัมมันตะ การงานชอบหรือการกระทำที่ชอบ หมายถึง การประพฤติชอบทางกายที่เรียกว่าการสุจริต 3 อย่าง

    4.1 เว้นจากความโหดเหี้ยม ฆ่า ทำร้าย หรือทรมานร่างกายผู้อื่นสัตว์อื่นให้ลำบากด้วยวิธีการต่างๆ แล้วให้มีจิตประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดีและสงสารผู้อื่นสัตว์อื่น

    4.2 เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอกลวง ปลอม ตะบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วให้มีทานรู้จักเสียสละแบ่งปัน มีสัมมาชีพ เคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

    4.3 เว้นจากการประพฤติผิดในการ
 
         บุคคลต้องห้ามฝ่ายชายคือ

         - ภรรยาผู้อื่น

         - หญิงที่ยังอยู่ในการอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งอาศัยผู้อื่น)

         - หญิงที่จารีตต้องห้าม เช่น แม่ ยาย ย่า พี่-น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงเยาว์ เป็นต้น

          บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิงได้แก่

         - สามีของหญิงอื่น

         - ชายที่จารีตต้องห้าม เช่น พ่อ ปู่ ตา พี่-น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์

   ทั้ง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช้ห้ามประพฤติผิดเฉพาะในการร่วมสังวาสเท่านั้น แต่รวมทั้งการเคล้าคลึง การพูดเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการปฏิพัทธ์แม้แต่ด้วยสายตา เนตรสบเนตร เป็นต้น เมื่อเว้นจากการประพฤติผิดในกามแล้ว ก็ต้องมีความสำรวมในการ (กามสังวร) ยินดีแต่ในภรรยาของตน (สทารสันโดษ) จงรักภักดีแต่ในสามีของตน (ปติวัตร) ถ้ายังไม่ได้ต่างงานก็ต้องประพฤติตนให้ตั้งอยู่ในวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงาม ชนิดที่เรียกว่า เข้าตามตรอกออกตามประตู ผู้มีกายสุจริตทั้ง 3 อย่างดังกล่าวนี้ เป็นผู้มีการกระทำที่ชอบได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น นับว่าเป็นผู้ได้ปฏิบัติตามหนทางแห่งความพ้นทุกข์ข้อที่ 4 (สัมมากัมมันตะ)

5. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ หมายถึง การเลี้ยงชีพโดยสุจริต เป็นอาชีพที่สุจริตไม่เป็นอาชีพที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรืออาชีพที่ผิดกฎหมายบ้านเมืองและศีลธรรมอันดีงาม หรือมีอาชีพที่ถูกต้องเป็นสัมมาชีพ แต่ตัวเองก็จะต้องไม่ประพฤติทุจริตในอาชีพนั้น เช่น ประกอบอาชีพรับราชการที่ไม่ทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ หรือทำธุรกิจค้าขายก็ไม่ค้ากำไรเกินควร หรือการหากินชนิด ทำนาบนหลังคน อาชีพนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการยังชีพให้ยืนต่อไป ถ้าเป็นมิจฉาอาชีวะก็หมายถึง ความไม่บริสุทธิ์ในการดำรงชีพ ก็จะเป็นอุปสรรคในการบรรลุคุณธรรมชั้นสูง โดยเฉพาะถ้าเป็นการค้าขายแล้วจะต้องเว้นจากการค้าขายสินค้าต่อไปนี้ คือ

    5.1 ค้าขายเครื่องประหารที่ทำลายกันโดยส่วนเดียว เช่น ระเบิด อาวุธต่างๆ ที่ใช้ทำร้ายซังกันและกัน

    5.2 ค้าขายมนุษย์เพื่อไปเป็นทาสรับใช้ผู้อื่น หรือหลอกลวงหญิงสาวไปขายเพื่อให้เป็นหญิงโสเภณี รวมทั้งนำเด็กๆ ไปขายค้ากำไร

    5.3 ค้าขายเนื้อสัตว์ อันหมายถึง การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เพื่อฆ่าแล้วนำเนื้อไปขาข จะเป็นวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ เป็นต้น ก็ตาม ผู้ต้องการจะพ้นทุกข์หรือผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคควรจะต้องละเว้น

     5.4 ค้าขายสุราน้ำเมาและยาเสพติดทุกชนิด ซึ่งทำให้ผู้ดื่มมัวเมาหลงใหลขาดสติสัมปชัญญะพากตัวทำชั่วหายนะต่างๆ

หรือทำให้ผู้เสพทำลายสุขภาพร่างกายและอันตรายต่อชีวิต เป็นการทำลายสังคมและประเทศชาติ นำความหายนะมาให้โดยส่วนเดียว

      5.5 ค้าขายยาพิษหรือสารพิษต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำลายมนุษย์และสัตว์ ถือว่าเป็นการค้าขายที่ผิดศีลธรรม

การ ค้าขายสินค้าต่างๆ ทั้ง 5 นี้เป็นการค้าขายที่ผิด เรียกว่า มิจฉาวณิชชา 5 เป็นการค้าขายที่ผู้เป็นอุบาสกอุบาสิกาหรือผู้ปฏิบัติตามทางที่จะนำไปสู่ ความดับทุกข์จะต้องงดเว้นโดยเด็ดขาด

6. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ ความเพียรนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานทุกอย่าง ยิ่งเป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิตแล้วก็ยิ่งจำเป็นมาก บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร ความเพียรพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จก็อยู่ที่นั้น ความเพียรทำให้งานที่ทำด้วยกายหรือใจสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ถ้าขาดความเพียรแล้วก็มีแต่ถอยหลังและประสบกับความล้มเหลวในที่สุด เพราะฉะนั้นจะต้องมีความเพียร แต่ความเพียรนั้นจะต้องเป็นความเพียรที่ชอบ ตัวอย่าง ความเพียรชอบในที่นี้หมายถึงความเพียร 4 อย่าง คือ

      6.1 สังวรปธาน เพียรระวงมิให้ความชั่วที่เป็นบาปอกุศล เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดมีขึ้นในสันดารแห่งตน หมายความว่า เพียรป้องกันอย่าให้ความชั่วร้ายใหม่เกิดขึ้นอีก

      6.2 ปหานปธาน เพียรละความชั่วร้ายที่เป็นบาปอกุศลซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วให้หมดสิ้นไป ถ้ายังละกำจัดไม่ได้เด็ดขาดก็ต้องลดลงให้มากเท่าที่จะมากได้ ถ้ายังลดไม่ได้ก็ต้องให้คงที่อยู่เท่าเดิมอย่าไปเพิ่มให้มากขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ พยายามกำจัดปัดเป่าความชั่วหรือความรู้สึกไม่ดีให้ออกจากจิตใจให้ได้

      6.3 ภารวนาปธาน เพียรพยายามก่อสร้างความดีที่เป็นบุญกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เช่น มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น ตัวอย่างให้ทานเสมอๆ อยู่แล้วก็พยายามรักษษศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งขึ้น แล้วก็พยายามเจริญสมาธิภาวนาในขั้นสูงๆ ขึ้นไป

      6.4 อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาคุณความดีที่เป็นบุญกุศลที่ได้ทำแล้วที่มีอยู่แล้วไม่ให้เสื่อม หรือลดน้อยถอยลง พยายามรักษาเอาไว้อย่างมั่นคงเหมือนเกลือรักษาความเค็ม โดยการทำความดีเช่นนั้นเสมอๆ เป็นอาจิณหรือเป็นนิสัยรวมความว่า พยายามระวัง-กำจัดความชั่ว และพยายามทำ- รักษาความดี

7. สัมาสติ ความระลึกชอบ หมายถึง การสำรวมใจหรือทำใจให้สงบตามแนวของสติปัฎฐาน (ที่ตั้งของจิต) ทั้ง 4 เป็นการพิจารณาให้รู้เห็นเนื่องๆ เพื่อมิให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย ความรู้สึกจิตใจและธรรม ทั้งที่เป็นฝ่ายกุศลหรืออกุศล กล่าวคือ

       7.1 ตั้งสติระลึกชอบโดยพิจารณาเห็นกายในกาย ที่ว่าเห็นกายในกาย คือ พิจารณาเห็นเรื่องต่างๆ ในร่างกาย เช่น ลมหายใจ อิริยาบถ การเคลื่อนไหว ตลอดจนส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผม จน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ฯลฯ และความเกิดดับของร่างกาย ให้เห็นความจริงของสิ่งเหล่านี้ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเรา เขา เป็นเพียงสักแต่ว่ากาย เรียกว่าเห็นกานในกาย

       7.2 ตั้งสติระลึกชอบโดยพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทีว่าเห็นเวทนาในเวทนา คือ พิจารณากำหนดรู้เรื่องของเวทนา ความสุข ความทุกข์ และความไม่สุขไม่ทุกข์ เวทนาเกิดขึ้นอย่างไร ตั้งอยู่อย่างไร ดับไปอย่างไร เวทนานั้นมีอามิสหรือหาไม่ ให้เห็นว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาเป็นเพียงแต่สักว่าเวทนา เรียกว่าเวทนาในเวทนา

       7.3 ตั้งสติระลึกชอบโดยเห็นพิจารณาเห็นจิตใจจิต ที่ว่าเห็นจิตในจิตหมายความถึงการกำหนดรู้พฤติการณ์ของจิตของตนอย่างละเอียด จิตรักก็รู้ว่าจิตรัก จิตโกรธก็รูว้าจิตโกรธ จิตลุ่มหลงก็รู้ว่าจิตลุ่มหลง จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ฯลน จิตไหวตัวอย่างไรก็รู้เท่าทัน ไม่ว่าจะเศร้าหมอง หรือผ่องแผ้วให้เห็นความจริงว่าสักว่าจิต หาใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เรียกว่าเห็นจิตในจิต

       7.4 ตั้งสติระลึกชอบโดยพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ที่ว่าเห็นธรรมในธรรมคล้ายๆ กับเห็นจิตในจิต แต่ที่ไม่เหมือนที่เดียวคือ การเห็นจิตในจิตได้แก่ รู้ทันความเคลื่อนไหวของจิต ส่วนการเห็นธรรมในธรรม ได้แก่ การรู้สิ่งที่มีอยู่ในจริต เช่น จิตมีนิวรณ์ (กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา) ก็รู้เรื่องของนิวรณ์นั้นว่า นิวรณ์เกิดขึ้นในจิต มีอยู่ในจิต ดับไปจากจิตแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม ก็ให้เห็นความจริงว่าเป็นเพียงสักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาเรียกว่าเห็นธรรมในธรรม สติปัฎฐานนี้เองที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เป็นทางเอกหรือทางเดียว เพราะเป็นทางปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามให้พ้นซึ่งความโศกหรือปริเทวนาการ เพื่อบรรลุญาณ และเพื่อทำนิพพานให้ปรากฏแจ้ง

8. สัมมาสติ ความตั้งใจชอบ ความตั้งใจชอบเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ด่านสุดท้ายที่จะเผด็จศึกกับกิเลสนับว่าเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญมาก เพราะธรรมชาติของใจย่อมรู้กันดีอยู่แล้วว่ามีสภาพกลับกลอกวอกแวกอยู่เสมอ เพราะความฟุ้งซ่านยากที่จะรักษาได้ จึงจำเป็นที่ผู้หวังความพ้นทุกข์จะต้องฝึกหัดดัดใจให้เป็นสมาธิ มีจิตใจแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านเป็นเอกัคคตา

มี อารมณ์เดียวจนเกิดความตั้งมั่นแห่ง่จิตใจขึ้น สัมมาสมาธิในที่นี้ก็หมายเอาความตั้งใจชอบโดยการเข้าสมาธิชนิดที่เป็นอัปปนา สมาธิคือ สมาธิแน่วแน่สมบูรณ์เต็มที่ (ไม่ใช่สมาธิชั่วขณะหรือสมาธิเฉียดๆ) เป็นสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์โดยสิ้นเชิง เป็นสมาธิระดับฌาน (การเพ่งอารมณ์จนในแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ) การเข้าสมาธิจนถึงระดับฌานนั้นจะยึดเอาอะไรมาเป็นอารมณ์เพื่อเป็นหลักในการ ทำสมาธิก็ได้ ในวิสุทธิมรรคเล่มที่ 2 สมาธินิเทศ ท่านได้กล่าวถึงอารมณ์ของกรรมฐานไว้ถึง 40 อย่าง เช่น กสิณ 10 มี น้ำ ลม สีแดง เป็นต้น อสุภ 10 เช่น ส่วนต่างๆ ของซากศพที่เน่า เป็นต้น อนุสติ 10 เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และความตาย เป็นต้น ระดับฌาน 4 นั้น คือ รูปฌาน 4 นั่นเอง ได้แก่

     8.1 ปฐมฌาน (ฌานขั้นแรก) มีองค์ 5 คือ วิตก (ความตรึก) วิจาร (ความตรอง) ปิติ สุข และเอกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว)

     8.2 ทุติยฌาน (ฌานที่ 2) มีองค์ 3 คือ ปิติ สุข เอกัคคตา

     8.3 คติญาณ (ฌานที่ 3) มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา

     8.4 จตุตถฌาน (ฌานที่ 4) มีองค์ 2 คือ อุเบกขา (ความวางเฉย) เอกัคคตา